Wholesomeness
I found myself greeting the fellow jokers this morning, even said hello to a neighbor who usually turned her back on me every time I was getting closer. During a mile walk, I seemed to notice and feel everything; the pace of my walk, the long interval of my breathing, the smell of the flowers along the path, how ripen of the mangoes hanging high up at the top canopies, the assorted colors of pomegranates surrounded by their dazzling delicate twigs and leaves. And the chorus from birds had resonated the rhythm of my body all along.
It’s an ironic that this is the route that I have been walking every morning. Why was this morning be much differently?
Perhaps, my breathing practice in this early morning was quite harmonious. I could inhale and exhale relatively more deeply and calmly than I normally could. My mind was naturally in placid temperament. I felt the connection and relation of my mind and my body. It seemed every movement was carefully thought and done and well detected.
The fact is that we simply can’t think or plan for every move of our body inside out, let alone the carefulness. So, it is no dispute that I was in the state of awareness, some say, mindfulness. It was called Sti, which is an essential part of Buddhist practice. Naturally, it yields a wholesomeness state of mind.
In the past decades, I have lived to know and learn how to be in Sti state of mind. Meditation is mainly my daily practice. There hardly have days that liked how I felt this morning. The more I think, the more I would give credit to the quality of sleeping.
With small wind pipe, so small that an anesthetist warned me of how difficult to insert a tube through, sleep apnea is what I have to deal with. If I wake up less than 10 times a night, it would consider a good sleep night. Last night happened to be one of them.
However, what in my head, I think, has much more effect to my sleep than those physical constraint. Last night I went to bed with my mind so cleared from any thing, there was absolutely no issue or concern in my head. And that could be an aftereffect of what I dared to accept my mistake and went out to beg for forgiveness.
“Happiness is a how, not a what; a talent, not an object.”
-Hermann Hesse
September 3, 2022
ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เช้านี้พบว่าตัวเองเดินทักทายคนที่เดินผ่านรวมถึงเพื่อนบ้านที่เธอมักจะหันหลังให้ทุกครั้งที่เราเริ่มเข้าใกล้ การเดินช่วงนึงที่มีระยะทางกว่าหนึ่งกิโลเมตรเราจะสังเกตเห็นและรู้สึกกับทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงฝีเท้าของตัวเอง ช่วงระยะการหายใจเข้าหายใจออก กลิ่นของดอกไม้ตามรั้วบ้าน ความแตกต่างของขนาดมะม่วงที่ห้อยอยู่ตามต้น ลูกทับทิมหลากสีที่แทรกไปกับกิ่งและใบเล็กใบน้อย เสียงร้องของนกที่ส่งเสียงประสานส่งเสริมบรรยากาศยามเช้า
แต่นี่เป็นเส้นทางที่เราเดินทุกเช้า ทำไมเช้านี้ถึงแตกต่างกันมาก อาจจะเป็นเพราะการฝึกหายใจในเช้าตรู่นี้ ที่สามารถหายใจเข้าและหายใจออกได้ค่อนข้างลึกและใจสงบกว่าปกติ จิตใจและอารมณ์เหมือนอยู่ในภาวะปลดปล่อย รู้สึกถึงการเชื่อมต่อและความสัมพันธ์ของจิตใจและร่างกาย ดูเหมือนว่าทุกการเคลื่อนไหวถูกกำหนดด้วยสติอย่างตั้งใจ
ความจริงก็คือเราไม่สามารถคิดหรือวางแผนให้กับทุกการเคลื่อนไหวในร่างกายของเราได้ นับประสาอะไรกับการตั้งใจที่จะตั้งสติ จึงไม่มีข้อโต้แย้งได้ว่าเราอยู่ในภาวะมีสติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญญา อันเป็นหลักสำคัญการปฏิบัติของพุทธศาสนา เราอาจจะเข้าถึงขั้นแรกของการทำสมาธิ ขั้นพุทโธ: ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เราได้พยายามเรียนรู้และปฎิบัติตัวเอง เพื่อที่จะอยู่ในสภาวะจิตใจที่มีสติ การทำสมาธิเป็นหลักการปฏิบัติประจำวัน แต่แทบไม่เคยมีวันที่มีความรู้สึกเหมือนเมื่อเช้านี้ คงต้องให้เครดิตการนอนที่ดี มีประสิทธิภาพ
ด้วยหลอดลมที่มีขนาดเล็ก เล็กมากจนวิสัญญีแพทย์เตือนถึงความยากในการสอดท่อเข้าไปตอนผ่าตัดปอด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือสิ่งที่มีผลตามมา หากคืนไหนที่ตื่นขึ้นระหว่างการนอนน้อยกว่า๑๐ครั้ง ถือว่าเป็นคืนที่มีการนอนหลับที่ดี เมื่อคืนก็เป็นหนึ่งในนั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สุมอยู่ในหัวเรา น่ามีผลกระทบต่อการนอนหลับมากกว่าผลจากทางร่างกาย เมื่อคืนเข้านอนด้วยจิตใจที่ปลอดโปร่งจากสิ่งใดๆ ไม่มีปัญหาหรือข้อกังวลใดๆ และนั่นอาจเป็นผลที่ตามมา จากที่เรากล้ายอมรับความผิดพลาดและได้เอ่ยกล่าวขอโทษด้วยน้ำใสใจจริง
“ความสุขเป็นเรื่อง’อย่างไร’ ไม่ใช่’เท่าไหร่’ จะว่าเป็นปัญญาก็ได้”
-เฮอแมนน์ เฮสส์
๓ กันยายน ๒๕๖๕