เล่มสลึง

หนังสือ ๗๒ ปี | Stories of My Life

A Family of Ten – ครอบครัวสิบคน

A Family of Ten

Sometimes we had less than a Dollar left in our household. No one had any plan for the next meal, rather just the tasks which were lined in front them; taking merchandise to sell on the street, putting some in the trays and carrying to the morning market competing with others for a free hot spot. After school, the kids had to come straight home regardless and helped out; selling corn, snacks, dessert by going after, knocking doors and being a local bus ticket collector, occasionally.

Yet, there were still not enough food on the table. Taking turns, was our practice. It normally started from the youngest. I was fortunate that there always had enough food when the plates were in front of me. We got use to see our mom who always placed herself at the end of the line, skipping her turns. We didn’t feel that bad because mom seemed to be happy when seeing her kids eating.

Did we take mom for granted? To be blunt, yes, kids do that. In the hardship however, we learned to share, to sacrifice and to support each other. My oldest sister had to quit her school when she was a sixth grader and helped do just about everything in the house and taking care of her 2 sisters and 5 brothers. Everybody chipped in. Both sisters were able to continue their schools and earn degrees. One was a physician and she could support her 4 brothers to go to colleges. A decade later, I wanted to make baskets and sell in the US. My siblings got together and only asked what they could do to help. We then were able to start basket business with literally no money involved. They just went out to mindfully do things without asking for anything.  Perhaps, we could say we are lucky that we were born poor. 

“Provision for others is a fundamental responsibility of human life.”
-Woodrow Wilson

May 5, 2021


ครอบครัวสิบคน

บ่อยครั้งที่มีเงินเหลือติดบ้านไม่กี่สิบบาท พวกเราไม่รู้และไม่สนว่ามื้อหน้าจะมีอะไรกิน เพราะต่างก็จดจ่อกับงานที่ต้องช่วยกัน ยกของออกไปวางตั้งขายที่ริมถนน เอาของชิ้นเล็กๆใส่ถาดเดินไปขายตามจุดตามมุมต่างๆในตลาดช่วงเช้าก่อนไปโรงเรียน พวกเราต้องกลับบ้านทันทีหลังโรงเรียนเลิกเพื่อที่จะมาช่วยกันเอาของหวาน ของกินเล่น ข้าวโพด ฯลฯ ไปขายให้เพื่อนบ้าน ช่วงงานเทศกาลบางคนก็ไปเป็นกระเป๋ารถเมล์

ขายดีบ้างขายไม่ได้บ้าง จึงมีความจำกัดเรื่องอาหารการกิน คนเล็กจะได้กินเต็มที่ ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ หลายครั้งกว่าจะถึงคนสุดท้ายอาหารก็ถูกตักถูกกวาดจนแทบไม่รู้ว่ามีกับข้าวอะไรเมื่อสักครู่นี้ แต่แม่เราที่รอให้ลูกๆกินก่อนไม่เคยปริปาก มีแต่หน้าตาที่ดูอิ่มเอิบเมื่อเห็นลูกลูกมีกับข้าวกิน

เอ้ พวกเราเอาเปรียบแม่รึเปล่า

ว่ากันตรงนะ ช่ายเลย ลูกๆทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละ แต่ในขณะเดียวกันความยากลำบากที่เราเติบโตมาด้วยกัน ทำให้ต่างก็เรียนรู้การแบ่งปันการช่วยเหลือและการเสียสละ พี่สาวคนโตต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมหก เพื่อช่วยงานที่บ้านรวมทั้งดูแลเลี้ยงน้องสาวสองคนน้องชายห้าคน พวกเราทุกคนต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เมื่อพี่สาวสองคนเรียนจบมหาวิทยาลัยก็ได้ช่วยกันส่งน้องๆให้ได้เข้าเรียนจนจบระดับปริญญา และอีกประมาณ ๑๐ ปีให้หลัง ทุกคนต่างร่วมมือกันทำตะกร้าให้ผมไปขายในอเมริกา ในครั้งนั้นเราเริ่มทำธุรกิจได้โดยแทบไม่มีเงินทุน เพราะทุกคนพร้อมใจช่วยกันอย่างเต็มที่โดยไม่ได้คิดหวังอะไรตอบแทน ก็ดีนะ ที่พวกเราเคยจน

“การจุนเจือเกื้อหนุนผู้อื่น เป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบของมวลมนุษย์”
-ประธานาธิบดี วู้ดโรว์ วิลซั่น

๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *