My Kind of Doctor
“You should continue and complete the course of Rituximab and do not take Acalabrutinib, just yet.”
After digesting and analyzing a bunch of different lab tests, Dr. Lori Leslie, my third opinion doctor who is a hematologist/oncologist and specializes in lymphoma and chronic lymphocytic leukemia (CLL), suggested me at the above. And that is exactly what I will do. Hence, the appointment for the second dose of Rituximab was set on this coming Wednesday, July 6. For Acalabrutinib, which I was granted of the medical supply with no out-of-pocket money until December 2022, was being returned to AZ&ME.
Her simple answers and right to the points plus some analogy helped me connect the dots. For example, Rituximab is clearly working well, brings WBC from 40,200 down to 5,800 in a week. Though, I could stop taking this medicine after the first dose, Dr. Leslie recommended me to complete the course, once a week x 4 weeks, because it would only help pave the ground for the good cells to be able to grow and be healthy. This could possibly prolong the invasion of those bad B-cells for a couple years.
Dr. Leslie went on to tell me that, unlike Rituximab, Acalabrutinib is the medicine that the patients will need to continue taking in order to control the bad cells or they could mutate and become more aggressive which would be much harder to treat. “In comparison, Acalabrutinib works just like an antibiotic drug which you have to finish the dose regardless, but Rituximab is a simple medicine which you can stop taking at anytime.”
I walked out of her office, possibly with a grin on my face. Well, I found my oncologist, finally 🙂
July 1, 2022
กว่าจะเจอหมอที่อยากจะฝากไข้
“คุณควรรับยา Rituximab ต่อจนครบคอร์ส แต่อย่าเพิ่งกินยา Acalabrutinib”
หลังจากศึกษาวิเคราะห์ผลการตรวจต่างๆ ดร.ลอรี เลสลี่ แพทย์คนที่สามที่เราขอความคิดเห็นซึ่งเป็นแพทย์ด้านโลหิตวิทยา/ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยาและเชี่ยวชาญด้านมะเร็งในเลือดและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แนะนำเราตามคำสรุปข้างบน
และนั่นคือสิ่งที่เราจะทำ ดังนั้น เพื่อการรับยา Rituximab ครั้งที่สอง เราจึงได้ทำนัดหมายในวันพุธหน้าที่ ๖ กรกฎาคม ส่วนยา Acalabrutinib ถึงแม้ทาง AZ&ME อนุมัติให้เราใช้ยาตัวนี้โดยไม่ต้องจ่ายตังค์จนถึงสิ้นปีนี้ แต่เราได้ตอบปฏิเสธและส่งยาคืน
คำแนะนำและคำตอบง่ายๆของหมอเลสลี่ย์ตรงประเด็น บางครั้งมีการเปรียบเทียบช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ยา Rituximab ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาว (WBC) ลดจาก ๔๐,๒๐๐ เหลือเพียง ๕,๘๐๐ ภายในหนึ่งสัปดาห์ เราจะหยุดรับยานี้ก็ได้ แต่ดร.เลสลี่แนะนำให้เรารับยาให้ครบคอร์ส (สัปดาห์ละครั้ง x ๔ สัปดาห์) เพราะมันจะช่วยปูพื้นฐานให้เซลล์ดีดีมีความแข็งแรงสามารถเพิ่มจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาการบุกรุกของ B-cells ที่ไม่ดีเหล่านั้นไปได้อีกสองสามปี
ดร. เลสลี่บอกเราต่อว่า Acalabrutinib เป็นยาที่ผู้ป่วยจะต้องกินต่อไปเรื่อยๆเพื่อควบคุมเซลล์ที่ไม่ดี ไม่เช่นนั้นพวกเซลล์ไม่ดีที่ยังเหลือแอบหลบซ่อนก็จะพัฒนาตัวเอง กลายเป็นพันธุ์ที่ก้าวร้าวมากขึ้น การรักษาก็จะยิ่งยากขึ้น หมอได้เปรียบเทียบให้เราฟังว่า ยา Acalabrutinib ทำงานเหมือนกับยาปฏิชีวนะที่เราต้องกินให้ครบโดสถึงแม้อาการจะดีจะหาย แต่ Rituximab เป็นยาที่เราจะหยุดรับเมื่อไหร่ก็ได้
เดินออกจากห้องคลีนิคด้วยความสบายใจ มองตาอ๋อยและพูดขึ้นมาแทบจะพร้อมกันว่า
“เจอหมอที่เราจะฝากไข้ได้แล้ว”
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕